{}

แบรนด์ของเรา

Impact-Company-Logo-English Black-01-177x54

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา
ค้นหาคำถามที่พบบ่อย
Overload คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์

Overload คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์

เครื่องสำรองไฟเกิดอาการโอเวอร์โหลด (Overload) คืออะไร

อาการ Overload คือ เครื่องสำรองไฟเกิดอาการใช้ไฟโหลดมากเกินไป โดยมีอุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับเครื่องสำรองไฟ UPS ทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าแรงดันไฟฟ้า ส่งผลให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด อธิบายง่ายๆ เมื่อมีอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากเชื่อมต่อ และใช้งานในเวลาเดียวกันทำให้กระแสไฟเกินนั่นเอง ยกตัวอย่างเครื่องสำรองไฟที่คุณใช้อาจมีกำลังวัตต์ที่ 500 วัตต์ แต่คุณใช้งานอุปกรณ์ที่ต้องการไฟสำรองที่ 600 วัตต์ ทำให้เกินกำลังวัตต์ที่เครื่องสำรองไฟจะสามารถรองรับได้ ทำให้เกิดอาการโอเวอร์โหลดได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ โดยคำนึงถึงกำลังวัตต์ที่คุณต้องการใช้งาน ว่าเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือเครื่องจักรของคุณหรือไม่ ทั้งหมดนี้เพื่อความปลอดภัยในชีวิต

ผลกระทบที่เกิดจาก Overload ในระบบไฟฟ้า

แน่นอนว่าการเกิด Overload ในระบบไฟฟ้านั้นส่งผลเสียหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดภายสำนักงานหรือโรงงาน ซึ่งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้นั้นมีดังนี้
  1. อุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหาย: เมื่อระบบไฟฟ้าต้องเผชิญกับภาวะ Overload อุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่นั้นก็อาจรับความร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดความเสียหายและชำรุดได้
  2. สูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน: ภาวะการ Overload ทำให้อุปกรณ์ทำงานเกินความสามารถที่กำหนด ซึ่งค่าของกระแสไฟฟ้าที่เกินจากที่อุปกรณ์รับได้อาจทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบได้
  3. อันตรายต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน: เนื่องจากภาวะ Overload ทำให้อุปกรณ์ทำงานเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ อาจทำให้ระบบไฟฟ้ามีความร้อนสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยได้ด้วยเช่นกัน
  4. ขาดเสถียรภาพในการทำงาน: ภาวะ Overload ที่เกิดขึ้นภายในระบบไฟฟ้าอาจทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง ส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์หรือระบบลดลง ทำให้ปฏิบัติงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหรือทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้

การคำนวณกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสม

กำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ใช้จะต้องไม่สูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ UPS จ่ายได้ ดังนั้นจึงต้องคำนวณการใช้พลังงานของอุปกรณ์ให้ถูกต้อง
  • โดยใช้สูตร VA = Voltage (RMS) x Current (RMS) หรือ VA = Watt x 1.4
ซึ่งถ้ามีการใช้อุปกรณ์มากกว่า 1 ชนิดหรือใช้งานหลายอุปกรณ์ ก็ให้นำค่า VA ของแต่ละอุปกรณ์มารวมกัน แล้วเลือกใช้ UPS ที่จ่ายไฟได้มากกว่าอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์

สัญญาณเตือนเครื่องสำรองไฟเกิดอาการโอเวอร์โหลด (Overload) มีอะไรบ้าง

การแสดงสัญญาณเตือนของแต่ละรุ่นจะแสดงแตกต่างกันขอให้ศึกษาการใช้งานตามคู่มือของ UPS และสัญญาณเตือนจะหยุดเมื่อถอดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกจากเต้าเสียบแบตเตอรี่สำรอง

เพิ่มเติม : สำหรับเครื่องสำรองไฟ Smart UPS คุณสามารถอ่านคู่มือรวบรวมสัญญาณเตือนความผิดปกติได้จากข้อมูลของ UPS แต่ละรุ่น
และสำหรับเครื่องสำรองไฟ Back UPS สามารถดูคู่มือได้ที่นี่

หยุดการเกิด Overload ด้วย Smart UPS จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

การเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟที่เหมาะสมนั้นสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อป้องกันการเกิด overload ซึ่งนอกจากจะต้องเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟที่มีกำลังไฟฟ้าเพียงพอกับอุปกรณ์ที่จะนำมาต่อด้วยแล้ว
คุณก็ควรจะเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดีจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชั้นนำด้วยเช่นกัน อย่างเช่น เครื่องสำรองไฟจาก Schneider Electric รุ่น Smart UPS
เครื่องสำรองไฟคุณภาพชั้นนำที่มีครอบคลุมทุกความต้องการของคุณ แล้วคุณจะหมดกังวลเรื่องกระแสไฟฟ้า overload มั่นใจได้ว่าจะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายการทำงานของคุณ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค Thailand

ดูข้อมูลเพิ่มเติม
รุ่น:
บทความที่อาจช่วยได้
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
รุ่น: