Tripping curves เป็นกราฟที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและเวลาปลดวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์ โดยกราฟนี้ประกอบด้วยสองส่วนด้วยกัน คือ
1. ส่วนป้องกันกระแสเกิน (Overload Protection หรือส่วนที่เป็น Thermal tripping)
2. ส่วนป้องกันกระแสลัดวงจร (Short-Circuit Protection หรือส่วนที่เป็น ElectroMagnetic tripping)
I = ค่ากระแสที่ทำให้เบรกเกอร์ทริป หรือเปิดวงจร (กระแสเกิน หรือ กระแสลัดวงจร)
In, Ir = พิกัดกระแสของเบรกเกอร์
t(s) = เวลาที่เบรกเกอร์ทริป หรือเปิดวงจร
ยกตัวอย่างการอ่านกราฟจาก QOvs tripping curve
สมมติใช้เบรกเกอร์ลูกย่อย QOVS 16A อยากทราบเวลาที่เบรกเกอร์จะเปิดวงจร (ทริป) หากมีกระแสเกินที่ 25A.
จากแกน X จะได้เป็น I/In = 25A/16A = 1.25
เมื่อได้ค่าในแกนX แล้วนำไปมาร์คในกราฟ แล้วลากขึ้นไปตัดกราฟ และตัดแกน Y จะได้เป็นเวลาที่เบรกเกอร์ทริป จากตัวอย่าง เบรกเกอร์จะทริปหลังจากมีกระแสเกินต่อเนื่องเป็นเวลา 90 วินาที.
และสามารถใช้ได้ในกรณีเดียวกันกับกระแสลัดวงจร
1. ส่วนป้องกันกระแสเกิน (Overload Protection หรือส่วนที่เป็น Thermal tripping)
2. ส่วนป้องกันกระแสลัดวงจร (Short-Circuit Protection หรือส่วนที่เป็น ElectroMagnetic tripping)
I = ค่ากระแสที่ทำให้เบรกเกอร์ทริป หรือเปิดวงจร (กระแสเกิน หรือ กระแสลัดวงจร)
In, Ir = พิกัดกระแสของเบรกเกอร์
t(s) = เวลาที่เบรกเกอร์ทริป หรือเปิดวงจร
ยกตัวอย่างการอ่านกราฟจาก QOvs tripping curve
สมมติใช้เบรกเกอร์ลูกย่อย QOVS 16A อยากทราบเวลาที่เบรกเกอร์จะเปิดวงจร (ทริป) หากมีกระแสเกินที่ 25A.
จากแกน X จะได้เป็น I/In = 25A/16A = 1.25
เมื่อได้ค่าในแกนX แล้วนำไปมาร์คในกราฟ แล้วลากขึ้นไปตัดกราฟ และตัดแกน Y จะได้เป็นเวลาที่เบรกเกอร์ทริป จากตัวอย่าง เบรกเกอร์จะทริปหลังจากมีกระแสเกินต่อเนื่องเป็นเวลา 90 วินาที.
และสามารถใช้ได้ในกรณีเดียวกันกับกระแสลัดวงจร